เสาเอก-เสาโท :บ้านเรือนมั่นคง ฐานะมั่งคั่ง
                  การ “สร้างบ้านแปงเมือง” หรือสร้างแผ่นดินใหม่ในโบราณ ต้องประกอบพิธีกรรมตั้งเสาหลักเมือง
      ครูบาอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญโหราศาสตร์ จะกำหนดฤกษ์ยาม 'ตั้งหลัก' หลักเมือง ก่อเกิด "ชะตาแผ่นดิน" หรือ
      ดวงเมือง
 
                     สยามประเทศหรือประเทศไทย กำหนดเสาหลักเมือง  "กรุงเทพมหานคร"  เป็นดวงเมือง โดยได้ให้เวลาย่ำรุ่งหรือประมาณ 06.45 นาฬิกา ของวันที่          21 เมษายน 2325 ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 10 ค่ำ  เดือน 6 ปีขาล  ลัคนาสถิตราศีเมษ เป็นฤกษ์ยามตั้งเสาหลักเมือง
                     สำหรับบ้านเรือนที่อยู่อาศัย หรือสถานที่ทำการค้า ก็ยึดถือแนวทางเดียวกัน นั่นคือต้องประกอบพิธีตั้งเสาเอก-เสาโท กำหนดฤกษ์ยามแบบเดียวกัน          โดยใช้ชะตาเจ้าของหรือผู้มีอำนาจการตัดสินใจสูงสุดประกอบวันเดือนปีและเวลามงคล เพื่อประกอบพิธีกรรม

                     เสาเอก-เสาโท  คือเสารับน้ำหนักอาคาร-บ้านเรือน  เปรียบเหมือนสามีภรรยาคือหลักแห่งการก่อเกิดครอบครัว เช่นเดียวกับบิดามารดาเป็นเสาหลัก
         ของลูกหลาน ดังนั้นเสาเข็มหรือเสารากฐานที่ตอกจมลงไปในพื้นดิน ไม่ใช่เสาเอก-เสาโท ..!!
                     การปลูกบ้านสร้างเรือนสมัยก่อน ใช้ไม้เป็นส่วนประกอบหลัก เสาเอก เสาโทต้องเป็นเสาไม้ ปัจจุบันใช้เหล็ก ปูน คอนกรีต เสาเอก เสาโททุกวันนี้
         คือเสาเหล็กหรือเสาโครงคร่าวก่อนสร้างแบบเทปูน หรือเสารับน้ำหนักของบ้าน อาคารชั้นหนึ่งนั่นเอง
                     เสาเอกคือผู้ชาย เสาโทคือผู้หญิง

                     เหตุผลของการประกอบพิธีกรรม
                     ตามหลักดิน น้ำ ลม ไฟ ชัยภูมิศาสตร์และอาจารย์สมเจตน์ แสงคำ ณ เวียงกำพู ถือว่าทุกสิ่งในโลก ธรรมชาติทุกมีส่วนเจ้าของหรือเทพผู้ดูแลรักษา
         อดีตสำหรับเสาเอก-เสาโท  คือบูชากราบไหว้ต่อเทพารักษ์  ผู้ดูแลรักษาต้นไม้ที่ต้องนำมาใช้ในการปลูกบ้านสร้างเรือน  ปัจจุบันได้ใช้เหล็ก หิน ปูน ทราย
         ล้วนแต่มาจากธรรมชาติ การกราบไหว้บูชาจึงมุ่งเน้นสื่อถึงสิ่งเหล่านี้ พร้อมกับเทพแห่งพื้นดิน นั่นคือแม่พระธรณี ตลอดถึงเจ้าที่และสิ่งเร้นลับบริเวณนั้น

                     ขั้นตอนและการประกอบพิธีกรรม
                     หลังจากกำหนดตำแหน่งเสาเอก เสาโท ต้องผูกเหล็กโครงคร่าวสำหรับเสาดังกล่าวพร้อมฐานเสา และจัดเตรียมไม้ค้ำเสานั้น
                     ขุดหลุมเสาเอก  เสาโทล่วงหน้า พร้อมประกอบพิธีปัดเสนียดไล่สิ่งเลวร้ายภายหลังขุดหลุม  จัดทำแผ่นไม้ปูพื้นทางเดินสำหรับผู้ประกอบพิธีกรรม            และผู้ร่วมพิธีกรรม  ตั้งโต๊ะปูผ้าขาวตั้งเครื่องบวงสรวงเซ่นไหว้
                     ฤกษ์ยามสำหรับยกเสาเอก เสาโทให้ใช้ภูมิปาโลฤกษ์ มหัทธโนฤกษ์  หรือราชาฤกษ์  ต้องห้ามดาวจันทร์  ดาวพฤหัสบดี สถิตเรือนอริ, มรณะ หรือ
         วินาศน์ และไม่ทำมุมเสียกับพื้นชะตาเจ้าของบ้าน หัวหน้าครอบครัวหรือผู้มีอำนาจตัดสินใจสูงสุดของบ้าน อาคารแห่งนั้น

                     สิ่งของที่ใช้ในการตกแต่งทำขวัญเสาเอก เสาโท ได้แก่
                     - ต้นกล้วย ความสูงประมาณ 1 ศอกเลือกลำต้นสมบูรณ์ ใบไม่มีแมลงกัดกิน ขุดพร้อมราก 2 ต้น  สำหรับเสาเอกหนึ่งต้น, เสาโทหนึ่งต้น
                     - ต้นอ้อย  คัดเลือกใบเรียวยาวสมบูรณ์ไม่มีแมลงกัดกิน ใบและลำต้นไม่หักงอเลือกขุดพร้อมรากความสูงประมาณ 1 เมตรจำนวน 2 ต้น โดยให้ใช้
         สำหรับเสาเอกหนึ่งต้น เสาโทหนึ่งต้นเช่นกัน
                     - ผ้าสามสี ผืนใหญ่ความยาว 5 เมตร จำนวน 3 สี 2 พับ ผูกเสาเอกหนึ่งพับ เสาโทหนึ่งพับ, ผ้าซิ่น 1 ผืนผูกเสาโท, ผ้าขาวม้า 1 ผืนสำหรับผูกเสาเอก,          พวงมาลัยดอกดาวเรือง 2 พวง สายสิญจน์ ม้วนใหญ่ 2 ม้วน

                     ตามขั้นตอนภายหลังพิธีบวงสรวง ที่เรียกว่าแต่งเสาและเชิญขวัญเสาเอก เสาโทก็จะถึงการยกเสาลงหลุมที่จัดเตรียม ใช้ผู้ประคองเสาจำนวน 4, 6,          8..ฯลฯ คน กรณีเสาใหญ่ให้ใช้อุปกรณ์ยก คนประคองลงหลุมตามจำนวนที่กล่าว ระหว่างนี้เจ้าของบ้าน, หัวหน้าครอบครัวหรือผู้มีอำนาจตัดสินใจสูงสุด          พร้อมสมาชิกภายในครอบครัวหรือองค์กรจะต้องจับสายสิญจน์ที่โยงกับเสาเอก เสาโท ตามลำดับพร้อมตั้งจิตอธิษฐาน ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ครูอาจารย์
         เทวดา ฟ้า ดิน ฯลฯ ดลบันดาลให้ปลูกบ้านสร้างอาคารสำเร็จ มั่นคงแข็งแรง  ระหว่างนี้เจ้าพิธีกรรมจะโห่นำ และร้อง "ไชโย ไชโย ไชโย" ผู้ร่วมพิธีกรรม
         จะต้องร้องสนับสนุนด้วยเสียงอันดัง เพื่อสิริมงคล

                     ยกเสาเอกตั้งเสร็จแล้ว จะต้องดำเนินการตามแบบเดียวกันกับเสาโท ภายหลังเสาทั้งสองตั้งขึ้นแล้ว ผู้ร่วมพิธีกรรมทุกคนต้องจุดธูปตั้งอธิษฐานจิต
         ถวายเครื่องบวงสรวงสังเวยตามที่จัดเตรียมไว้  
                     ธูปมอดหมดแล้วจะต้องตัดแบ่งเครื่องบวงสรวงจัดใส่กระทงใบตอง นำไปไว้บริเวณด้านหน้าสถานที่ปลูกสร้างบ้าน อาคารแห่งนั้น ทั้งนี้ต้องวาง
         ตรงมุมประตูหรือตรงทางสามแพร่ง ปักธูปหนึ่งดอกบอกกล่าวสำหรับสัมภเวสี วิญญาณเร่ร่อน ทั้งหลายเพื่อไม่ให้รบกวนการก่อสร้าง
                     เสาเอก-เสาโทต้องตั้งทิ้งไว้ในลักษณะนั้น  หนึ่งวันหนึ่งคืนก่อนปลดผ้าสามสี  ผ้าซิ่นและผ้าขาวม้าเก็บเป็นสิริมงคลสำหรับครอบครัว หรือองค์กร
         ต้นกล้วย ต้นอ้อย ปลูกไว้ในมุมใดมุมหนึ่งภายในพื้นที่ของบ้านหรืออาคารแห่งนั้น

                     นอกจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้วพื้นดินแต่ละตารางนิ้วคือซากพืชซากสัตว์ทับถมกันหลายร้อยหลายพันปี หลายครอบครัวปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัยไม่ถึงปี
         เกิดความร้าวฉาน ร้อนดั่งไฟ พ่อแม่ประสบปัญหาการงานพร้อมกัน ลูกติดการพนัน ยาเสพติด หรือเกิดสิ่งเร้นลับภายในบ้านอยู่อาศัยไม่มีความสุข
                     เช่นเดียวกับหลายองค์กรธุรกิจก่อสร้างอาคารสำนักงานของตัวเอง ธุรกิจการงานกำลังรุ่งเรืองกลับตกต่ำกระทั่งล้มละลาย
                     สิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ใช่เหตุบังเอิญ เพราะสร้างบ้าน อาคารทับที่ดินสิ่งเร้นลับ หรือไม่ได้กราบไหว้บูชาต่อเทวดา ฟ้า ดิน ..!!

               
                     สนใจใช้บริการตรงตามแบบพิธีกรรมโบราณ ติดต่อ 081-700-8644, 089-992-8644

 หน้าแรก | ประวัติ-ผลงานอาจารย์สมเจตน์ | ที่ปรึกษาธุรกิจ | ตั้งชื่อกิจการ-ออกแบบโลโก้ | ติดต่ออาจารย์

กิจการพัฒนาข้อมูล บริษัท ยูก้า คิม รีโอ จำกัด 
  www.somjate.com 2010-2015 All right reserved. | ตั้งชื่อ | Link |