ศาลพระภูมิ / อาจารย์สมเจตน์ แสงคำ ณ เวียงกำพู

                   ตำนานสายพุทธะกล่าวว่า ยุคที่มนุษย์ เทวดาและสรรพสัตว์อยู่ร่วมกัน สื่อสารระหว่างกันได้ด้วย
      ภาษาเดียวเดียวกัน  พระเจ้าทศราช  ก่อตั้งเมืองพาลีขึ้นในโลกมนุษย์  ผู้คนเรียกขานว่า "พระเจ้ากรุงพาลี"
      หรือ "พระเจ้าพลี" (อ่านว่า พะ-ลี) อภิเษกสมรสกับพระนางสันทรทุกะเทวี  ก่อนประสูติโอรส 9 พระองค์
 
                      ต่อมาพระโอรสทั้ง 9 เติบโตเต็มวัย พระเจ้ากรุงพาลี จัดแบ่งพื้นที่ครอบครองดูแล ดังนี้
                      พระชัยมงคล ครอบครองดูแล เคหสถาน บ้านเรือน
                      พระนครราช ครอบครองดูแล ประตู ป้อมค่าย บันได
                      พระเทเพนหรือเทเพล ครอบครองดูแล คอกสัตว์
                      พระชัยศพณ์ ครอบครองดูแล คลังเสบียง ยุ้ง ฉาง

                      พระคนธรรพ์ ครอบครองดูแล สถานที่มงคลสำหรับหนุ่มสาว เรือนหอ
                      พระธรรมโหรา ครอบครองดูแล ภูเขา ป่า นาและท้องทุ่ง 
                      พระเทวเถร ครอบครองดูแล วัดวาอาราม สำนักสงฆ์และกิจการศาสนา
                      พระธรรมิกราช ครอบครองดูแลพืชพรรณ อุทยาน
                      พระทาษธารา ครอบครองดูแล ห้วย หนองน้ำ คลอง แม่น้ำ ลำธาร


                      ภายหลังมอบอำนาจบริหารจัดการกับพระราชโอรสทั้ง 9 พระเจ้ากรุงพาลีมิทรงอยู่ในทศพิธราชธรรมใช้พระราชอำนาจเบียดบังที่ดินชาวบ้านเพื่อ
         สร้างพระราชวังใหญ่โต แวดล้อมข้าราชบริพารทั้งมนุษย์ เทวดา นางฟ้า ..ฯล.. สร้างความเดือดร้อนเกิดแก่มนุษย์ สัตว์ เทวดาทุกหย่อมย่าน
                      ที่สุดถึงกับต้องรวมตัวร้องเรียนความเดือดร้อนถึงสรวงสวรรค์
                      เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว พระนารายณ์อวตารมาเป็นพระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญภาวนาใต้โพธิ์ใหญ่เขตนครพาลี พระเจ้ากรุงพาลีพบเห็นทรงไม่พอ
         พระทัยสั่งทหารขับไล่พระพุทธองค์เพื่อพ้นกรุงพาลี  พระพุทธองค์อ้อนวอนขอพื้นที่สัก 3 ก้าวเพื่อใช้บำเพ็ญเพียร  พระเจ้ากรุงพาลีใคร่ครวญก่อนตรัสว่า
         ยินดีให้แต่ห้ามออกนอกพื้นที่ 3 ก้าว ไม่ว่าจะกิน ขับถ่าย อาบน้ำ.. ต้องอยู่ภายในพื้นที่นี้เท่านั้น พระนารายณ์ในร่างพระพุทธเจ้าก็ตอบรับ

                      ได้ยินดังนั้น  พลันพระพุทธองค์ทรงคืนร่างเป็นพระนารายณ์สี่กรสูงใหญ่เทียมฟ้า ออกย่างเท้าเพียงก้าวเดียวก็สุดขอบโลก แล้วทรงขับไล่พระเจ้า
         กรุงพาลี มเหสี ราชโอรสทั้ง 9 ให้พ้นแผ่นดินพร้อมกำหนดข้าทาสแค่ 3 คนคือนายจันถี, นายจันทิศ และนายจันสพ  ไม่ให้พื้นที่ทั้งโลกมนุษย์ บาดาล หรือ
         หรือสวรรค์ ทั้งหมดต้องลอยกลางอากาศด้วยความยากลำบากหลายกัลป์

 
                      ที่สุดพระเจ้ากรุงพาลีไม่อาจจะทานทนต่อไปได้ให้ข้าทาสทั้งสามกราบสำนึกผิดต่อพระนารายณ์ ทั้งนี้ทรงเห็นว่าถ้าให้พระเจ้ากรุงพาลี  ปกครอง
         แผ่นดินอาจจะก่อความทุกข์เข็ญแก่พี่น้องประชาชนอีก ทรงตั้งเงื่อนไขว่า.. ถ้าต้องการแผ่นดินก็ยินดี แต่ให้ทำหน้าที่กำกับดูแลแผ่นดินเท่านั้น  ห้ามสร้าง          พระราชวังใหญ่โต ให้สร้างได้แค่บ้านหลังเล็กบนเสาต้นเดียวเท่านั้น ..!! ถ้าทรงยินยอมจะให้มนุษย์เคารพกราบกรานในฐานะผู้กำกับดูแลแผ่นดินเรียกว่า          "พระภูมิ" ไม่ใช่กษัตริย์กรุงพาลีอีกต่อไป
                      พระเจ้ากรุงพาลีได้ยินดังนั้นทรงตอบตกลง ต่อมาพระเจ้ากรุงพาลีและมเหสีสิ้นพระชนม์ มนุษย์ยังคงให้ความเคารพต่อพระภูมิในฐานะประธาน
         หรือผู้ดูแลแผ่นดิน โดยตั้งศาลพระภูมิสูงเสมอสายตาสำหรับบูชารูปเหมือนพระชัยมงคล พระราชโอรสลำดับต้นพระเจ้ากรุงพาลี  ทำหน้าที่แทนพระบิดา
         กระทั่งทุกวันนี้

                      ศาลพระภูมิไม่ได้จำกัดเฉพาะบ้านเรือนที่อยู่อาศัย  สำนักงานเท่านั้น ทั้งนี้พระชัยมงคล  คุ้มครองดูแลบ้านเรือน  สำนักงาน, พระนครราช จะดูแล          ประตูเมือง บันไดหรือทางเข้า-ออก หรือนัยหนึ่งคือท้าวจตุคามนั่นเอง,  พระเทเพนหรือเทเพลคือพระภูมิประจำคอกสัตว์,   พระชัยสพณ์คือพระภูมิประจำ
         ยุ้งฉาง  เสบียง   คลังหรือสถานที่เก็บอาหาร,   พระคนธรรพ์  คือพระภูมิประจำเรือนหอหรือแหล่งบันเทิงสำหรับคนหนุ่มสาว,   พระธรรมโหราคือพระภูมิ
         เรือกสวนไร่นา, พระเทวเถรคือพระภูมิประจำวัด ปูชนียะสถาน สำนักสงฆ์, พระธรรมิกราช คือพระภูมิประจำอุทธยาน สวน,
                      สุดท้ายคือพระทาษธารา คือพระภูมิประจำห้วย  หนองน้ำ  คลอง แม่น้ำ

                      ปัจจุบันเหลือเพียงศาลพระภูมิประจำบ้านเรือน สำนักงาน ได้แก่ พระชัยมงคลเท่านั้น และมักตั้งคู่กับศาลเจ้าที่ นั่นหมายถึงวิญญาณผู้ดูแลผูกพัน
         กับสถานที่นั้น ลักษณะศาลเจ้าที่จะเป็นเรือนสี่เสา หกเสา ขนาดฐานใหญ่กว่าศาลพระภูมิ ความสูงเพียงครึ่งหนึ่งของศาลพระภูมิ ภายในวางรูปปั้นตา-ยาย
         จากจุดนี้ผู้คนส่วนใหญ่เรียกว่า ศาลพระภูมิ-เจ้าที่  หลักที่ถูกต้องคือพระภูมิ เปรียบเหมือน "ประธาน" ส่วน "เจ้าที่" คือผู้จัดการ

                      การตั้งบูชาศาลพระภูมิ และ/หรือศาลเจ้าที่  เพื่อแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์  จิตวิญญาณ  ก่อเกิดความเจริญรุ่งเรือง รอดพ้นโพยภัย ตรงตามหลัก
         "ดิน น้ำ ลม ไฟ ชัยภูมิศาสตร์" ของอาจารย์สมเจตน์ แสงคำ ณ เวียงกำพู คือมุ่งเน้นอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติ จิตวิญญาณหรือสิ่งลี้ลับนั่นเอง


                      สนใจใช้บริการบวงสรวง ตั้งศาลพระพรหม ศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ ติตต่อ 081-700-8644, 089-992-8644 

 หน้าแรก | ประวัติ-ผลงานอาจารย์สมเจตน์ | ที่ปรึกษาธุรกิจ | ตั้งชื่อกิจการ-ออกแบบโลโก้ | ติดต่ออาจารย์

กิจการพัฒนาข้อมูล บริษัท ยูก้า คิม รีโอ จำกัด 
  www.somjate.com 2010-2015 All right reserved. | ตั้งชื่อ | Link |